Header Image
ข้อมูลทั่วไปจังหวัด
watermark

ความสำคัญของจังหวัด :

รูปมณฑป

หมายถึง สถานที่อันเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดของชาวจังหวัดสระบุรีและชาวไทยทั้งประเทศ เป็นรูปมณฑปปลูกครอบรอยพระพุทธบาทของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 
จังหวัดสระบุรี ใช้อักษรย่อว่า "สบ"

คำขวัญของจังหวัดสระบุรี

"พระพุทธบาทสูงค่า  เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์  ฐานผลิตอุตสาหกรรม  เกษตรนำล้ำแหล่งเที่ยว หนึ่งเดียวกะหรี่ปั๊บนมดี  ประเพณีตักบาตรดอกไม้งาม  เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน  ลือลั่นเมืองชุมทาง"
 

อาณาเขต และที่ตั้ง :

ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดสระบุรี

สภาพทั่วไป

ที่ตั้ง จังหวัดสระบุรี ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพมหานครประมาณเส้นรุ้งที่ 14 องศา 31 ลิปดา 43.59439 ฟิลิปดาเหนือ กับเส้นแวงที่ 100 องศา 54 ลิปดา 35.58478 ฟิลิปดาตะวันออก  อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ระยะทางประมาณ  108  กม. (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ศาลากลางจังหวัด)   และตามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ  ระยะทางประมาณ  113 กิโลเมตร  และตามแม่น้ำเจ้าพระยาแยกเข้าแม่น้ำป่าสักประมาณ 165 กิโลเมตร 
เนื้อที่ จังหวัดสระบุรีมีเนื้อที่ทั้งหมด  3,576.486  ตร.กม. หรือประมาณ 2,235,304 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.70 ของพื้นที่ประเทศ
อาณาเขต  จังหวัดสระบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง  ดังนี้

 

- ทิศเหนือ  ติดต่อกับอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอชัยบาดาล และ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
- ทิศตะวันออก   ติดต่อกับอำเภอปากช่อง  อำเภอสีคิ้ว  จังหวัดนครราชสีมา  และอำเภอ
บ้านนา  จังหวัดนครนายก
- ทิศใต้   ติดต่อกับอำเภอหนองเสือ  จังหวัดปทุมธานี  และอำเภอวังน้อย  อำเภออุทัย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ทิศตะวันตก   ติดต่อกับอำเภอภาชี  อำเภอท่าเรือ  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
และอำเภอเมืองลพบุรี  จังหวัดลพบุรี
 

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่จังหวัดสระบุรีเป็นส่วนหนึ่งของบริเวณลุ่มน้ำที่ราบลุ่มภาคกลางรวมกับอีกส่วนหนึ่งของทิวเขาดงพญาเย็น สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด 3 ลักษณะคือบริเวณที่ราบลุ่ม บริเวณเขาหย่อมหรือเขาเตี้ย และบริเวณเขาสูง

ลักษณะดิน

โดยทั่วไปพบดินเหนียว  ดินเหนียวปนทรายแป้งที่มีการระบายน้ำเลว  หรือค่อนข้างเลว  ใช้ทำนาปลูกข้าว  บางแห่งมีชั้นของสารจาไรไซท์อยู่ตื้นมีปฏิกิริยาเป็นกรด  ซึ่งเป็นพิษต่อข้าว  บางแห่งอาจมีน้ำท่วมทำให้ผลผลิตสูญเสีย สำหรับดินเหนียวที่มีการระบายน้ำดีและมีความลาดชันใช้สำหรับปลูกพืชไร่และไม้ผล บางแห่งพบชั้นกรวดหนาแน่นอยู่ตื้นและบางแห่งถูกกัดกร่อน ส่วนที่มีความลาดชันสูงๆ จะเป็นภูเขาบางแห่งพบชั้นหินพื้นอยู่ตื้น ซึ่งใช้เป็นที่ป่า

ลักษณะภูมิอากาศ

จังหวัดสระบุรี เป็นจังหวัดที่มีลักษณะอากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู (Tropical Aavanna Climate, Aw) ระบบจำแนกประเภทภูมิอากาศของ Koppen ซึ่งลักษณะภูมิอากาศแบบนี้จะมีฝนน้อยแห้งแล้งในฤดูหนาว และอุณหภูมิค่อนข้างสูงในฤดูร้อนและค่อนข้างจะหนาวเย็นในฤดูหนาว และมีฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม 

อุณหภูมิ

จังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดในภาคกลาง และอยู่ลึกเข้ามาในแผ่นดินปกติมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง จึงทำให้อากาศร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวไม่หนาวจัด โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด เฉลี่ย 33-34 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23-24  องศาเซลเซียส เดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุดในรอบปี ส่วนฤดูหนาวอากาศจะหนาวที่สุดในเดือนมกราคม
 

สภาพเศรษฐกิจ : 

               โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดสระบุรี สภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัด พิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ปี 2555  ภาคการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ภาคนอกเกษตร 188,833 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 94 ภาคเกษตรกรรม 12,747 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด  สาขาการผลิตที่สำคัญ ได้แก่  สาขาอุตสาหกรรม 116,298 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58 สาขาการไฟฟ้า แก๊ส และการประปา 17,545 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9 สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ฯ 16,502 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8 สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้  12,463 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6 และสาขาการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน 7,738 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดสระบุรี  ปี 2563

1. ข้าว

   (1) ข้าวนาปี  

     ปีเพาะปลูก ๒๕57/๕8 พื้นที่ปลูก 368,448 ไร่ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.40 ผลผลิตเฉลี่ย 756 ก.ก./ไร่ ผลผลิตรวม 278,547 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.24 พื้นที่ปลูกสำคัญ คือ อำเภอหนองแค อำเภอบ้านหมอ อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้

    (2) ข้าวนาปรัง

      ปีเพาะปลูก 2557 พื้นที่ปลูก 207,552 ไร่ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 34.99 ผลผลิตเฉลี่ย 688 ก.ก./ไร่ ผลผลิตรวม 138,571 ตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 44.86 พื้นที่ปลูกสำคัญ คือ อำเภอหนองแค อำเภอบ้านหมอ อำเภอเสาไห้ อำเภอหนองโดน และอำเภอหนองแซง

2.  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

     ปีเพาะปลูก 2557/58 พื้นที่ปลูก 216,770 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.55 ผลผลิตเฉลี่ย 883 กก./ไร่ ผลผลิตรวม 191,498 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.83 การเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นิยมปลูก 2 ช่วง คือ รุ่นที่ 1  ช่วงต้นฤดูฝน ซึ่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่นนี้มีประมาณร้อยละ 90 ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนรุ่นที่ 2 ช่วงกลางฝนหรือปลายฝน(ฤดูแล้ง) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่นนี้จะมีคุณภาพดี เพราะความชื้นต่ำ พื้นที่ปลูกสำคัญ คือ อำเภอมวกเหล็ก อำเภอพระพุทธบาท อำเภอแก่งคอย และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอที่ไม่มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คือ อำเภอหนองแค อำเภอหนองแซง และอำเภอดอนพุด

3.  อ้อยโรงงาน 

     ปีเพาะปลูก 2557/58 พื้นที่ปลูก 134,635 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.47 ผลผลิตเฉลี่ย 9,141 กก./ไร่ ผลผลิตรวม 1,230,685 ตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 14.46 พื้นที่ปลูกสำคัญ คือ อำเภอวังม่วง และอำเภอมวกเหล็ก อำเภอที่ไม่มีพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน คือ อำเภอเมือง อำเภอหนองแค อำเภอวิหารแดง อำเภอหนองแซง อำเภอดอนพุด และอำเภอเสาไห้

4.  มันสำปะหลัง

      ปีเพาะปลูก 2557/58 พื้นที่ปลูก 37,718 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 13.30 ผลผลิตเฉลี่ย 4,094 กก./ไร่ ผลผลิตรวม 154,417 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 11.72 พื้นที่ปลูกสำคัญ คือ อำเภอมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย และอำเภอพระพุทธบาท อำเภอที่ไม่มีพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน คือ อำเภอหนองแค อำเภอหนองแซง อำเภอบ้านหมอ อำเภอดอนพุด และอำเภอหนองโดน

อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญของจังหวัด

การอุตสาหกรรมและเหมืองแร่

จังหวัดสระบุรี เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ หินปูน หินอ่อน โดยมีโรงงานปูนซีเมนต์ ที่มีกําลังการผลิตมากที่สุดของประเทศ ประมาณ 50 ล้านตัน/ปี หรือร้อยละ 89 ของประเทศ ส่งออกได้ 14 ล้านตัน/ปี คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 20,380 ล้านบาท/ปี มีโรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างจํานวน 219 แห่ง เป็นแหล่งผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ 

ปี  2557  จังหวัดสระบุรี มีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสิ้น (สะสม) จำนวน 1,651 โรงงาน เงินลงทุน 280,836.95 ล้านบาท  และมีการจ้างแรงงาน 126,755 คน  ส่วนใหญ่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมอโลหะ เนื่องจากจังหวัดเป็นแหล่งผลิตปูนซีเมนต์ หินปูน และหินอ่อน เพื่อใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้างต่างๆ โดยมีหมวดอุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ

   1) อุตสาหกรรมอื่นๆประกอบด้วยการผลิต การคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วฯ เป็นหลัก

   2) อุตสาหกรรมอโลหะ ประกอบด้วยการผลิต ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม หรือผลิตภัณฑ์ปูนปลาสเตอร์ เป็นหลัก

   3) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ ประกอบด้วยการผลิต การกลึง เจาะ คว้าน กัดไส เจียน หรือเชื่อมโลหะทั่วไป เป็นหลัก

          จังหวัดสระบุรี เป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งพลังงาน เพื่อการอุตสาหกรรมจำนวนมาก ได้รับการกำหนดให้เป็นพื้นที่ส่งเสริมการลงทุน (BOI ZONE 2) ปัจจุบันมีนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่ง ได้แก่ 

           1) นิคมอุตสาหกรรมหนองแค (อ.หนองแค) เนื้อที่ 2,044 ไร่ มีโรงงานอุตสาหกรรม 5 แห่ง เป็นประเภทอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงงานผลิตกระเบื้อง โรงงานผลิตเซรามิค เป็นต้น

           2) นิคมอุตสาหกรรมสระบุรี (อ.แก่งคอย) เนื้อที่ 2,600 ไร่ มีโรงงานอุตสาหกรรม 1 แห่ง ประกอบกิจการ ผลิตแผ่นใยไม้อัด NDF ความหนาแน่นปานกลาง

           3) เขตอุตสาหกรรมเครือซีเมนต์ไทย (อ.หนองแค) เนื้อที่ 3,000 ไร่ โดยการจัดการของ บริษัทเหมราช สระบุรี ที่ดินอุตสาหกรรม จำกัด มีโรงงานเปิดดำเนินการ 34 แห่ง

          สำหรับการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน  จังหวัดสระบุรีมีทรัพยากรแร่ที่สำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น หินปูน หินอ่อน หินไรโอไลต์ หินแอนดีไซต์ หินดินดาน หินทราเวอร์ทีน แร่ดิกไคต์และไพโรฟิลไลต์ แร่โดโลไมต์ แร่แคลไซต์ บอลเคลย์ ดินมาร์ล โดยมีพื้นที่แหล่งแร่รวมกันประมาณ 1,046.24 ตารางกิโลเมตร 
 

ผลิตภัณฑ์เด่นและการรวมกลุ่มผู้ประกอบการของจังหวัด :

สินค้า OTOP  ดีเด่นจังหวัดสระบุรี

 

ลำดับที่

อำเภอ

สินค้า OTOP

1

อ. เฉลิมพระเกียรติ

คุกกี้ธัญพืช , พายไส้ผลไม้ , น้ำผึ้ง , หินอ่อน 

2

อ. หนองแซง

ผักปลอดสารพิษ , เฟอร์นิเจอร์ไม้ลัง , ขนมจีน

3

อ. เมือง

ตลาดน้ำดาวเรือง ,ดอกไม้จันท์  ,ขนมไทย , ครกหินปากข้าวสาร    

, หินอ่อน

4

อ. วิหารแดง

เห็ดฟาง , พรม , ผักปลอดสารพิษ

5

อ. พระพุทธบาท

ดอกเข้าพรรษา , ทองม้วนสมุนไพร

6

อ. มวกเหล็ก

น้ำองุ่น , องุ่นสด , กระหรี่พัป

7

อ. ดอนพุด

น้ำข้าวโพด , ข้าวเกรียบสมุนไพร

8

อ. วังม่วง

จักสานใบลาน , น้ำผึ้ง

9

อ. เสาไห้

ปติมากรรมปูนกระดาษ , กระยาสารท , ก๋วยเตี๋ยวเรือ , ผ้าทอต้นตาล , ผ้าทอท่าช้าง

10

อ. แก่งคอย

น้ำมันงา , ผลิตภัณฑ์จากเขาสัตว์ , ถั่วทอดสมุนไพร , ขนมเทียนสมุนไพร

11

อ. บ้านหมอ

ยำผักหวาน , ก๋วยเตี๋ยวผักหวาน , ผักหวานแปรรูป , เผือกแปรรูป ,รังไหมประดิษฐ

12

อ. หนองโดน

เสื้อผ้าไทย , กุนเชียงปลา

13

อ. หนองแค

แตงเมล่อน , ผลิตภัณฑ์เชือกมัดฟาง , สมุนไพรพิชา , หมวกคาวบอย

การท่องเที่ยว

          จังหวัดสระบุรี เป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทั้งทางด้านสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ  ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม จึงส่งผลให้มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย ทั้งทางด้านการท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 

 


Line

คะแนนโหวต :
starstarstarstarstar
จำนวนการเข้าชม : 85,082